กล่องเครื่องมือ

3.  กล่องเครื่องมือ (Toolbox) 
                เป็นชุดเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างส่วนประกอบต่างๆ ของชิ้นงานลงบน Artboards เช่น การวาดรูปทรง วาดเส้น ข้อความการกำหนดสีให้วัตถุเป็นต้น ซึ่งในชุดเครื่องมือจะแบ่งกลุ่มเครื่องมือตามลักษณะการใช้งาน


รูปภาพที่  9   กล่องเครื่องมือ


ส่วนประกอบกล่องเครื่องมือ
1.  Selection tool เครื่องมือกลุ่มนี้ว่าด้วยเรื่องการเลือกวัตถุ
Selection tool  (ลูกศรสีดำ)ใช้เลือกวัตถุทั้งชิ้น
Direct-selection tool(ลูกศรสีขาว)ใช้เลือก  points  หรือ path ของวัตถุ (กดคีย์ Alt)

Magic wand tool เป็นเครื่องมือใช้เลือกวัตถุที่มีสีเดียวกัน การใช้งานเหมือนใน Photoshop

(กดคีย์ Alt และ Shift)
Lasso tool ใช้เลือกโดยการคลิกเมาส์  Drag  การใช้งานเหมือนใน Photoshop (กดคีย์ Alt  และ Shift)

2.  Create tool  เครื่องมือกลุ่มนี้ว่าด้วยการสร้าง objects ไม่ว่าจะเป็นเส้น รูปทรงต่างๆ และตัวอักษร
Pen tool  สร้างเส้น parth อย่างแม่นยำ โดยการใช้แขน มีผลทำให้ object มีจุดน้อย-น้อยมาก ส่วนเครื่องมือย่อยจะเอาไว้ใช้ปรับแต่ง curvedไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจุด ลบจุด หักแขนของแกนเส้นสัมผัส (กดคีย์ Alt)
Type tool  ใช้พิมพ์ตัวอักษร ข้อความต่างๆ ส่วนเครื่องมือ ย่อย ก็ง่ายๆตามรูป ใช้พิมพ์ตัวอักษรให้อยู่ในกรอบบ้าง ทำตัวอักษรวิ่งตาม path
Line segment tool  อันนี้ไว้ลากเส้นตรง ในรายละเอียดของเครื่องมือย่อย เช่น ไว้ทำขดก้นหอย ทำ grid ของตารางหมากรุก grid แบบใยแมงมุม
Basic shape tool  เอาไว้วาดรูปทรงพื้นฐาน 3-4-หลายเหลี่ยม และวงกลม shape รูปดาว แต่ที่เด่นที่สุดคือflare tool ใช้สร้างเอฟเฟค lens-flare  (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)

Paintbrush tool  แปรงที่เอาไว้สร้างเส้น  parth  โดยการdrag เมาส์ลากอย่างอิสระ สามารถใช้

brush แบบพิเศษ  (กดคีย์ Alt)
Pencil tool  จะคล้ายๆ paintbrush tool แต่จะมีเครื่องมือย่อยให้เรียกใช้ในการแก้ไขเส้น ซึ่งจะช่วยในการปรับแต่งแก้ไข และทำให้งานดูดี เร็วขึ้น  (กดคีย์ Alt)

3.  Transform tool  เครื่องมือกลุ่มที่ใช้ในการปรับแต่งรูปทรงของวัตถุ หมุน เอียง บิด กลับด้าน ย่อ ขยาย
Rotate tool  ใช้ในการหมุนวัตถุ โดยการกำหนดจุดหมุนก่อนแล้วจึงทำการหมุน ซึ่งสามารถกำหนดได้ว่าต้องการหมุนกี่องศา(กดคีย์ Alt) 
Reflect tool  ใช้ในการกลับด้านของวัตถุ (กดคีย์ Alt)
Scale tool  ปลับย่อขยายวัตถุ (กดคีย์ Alt และ Shift)Shear tool ใช้เอียงวัตถุ (กดคีย์ Alt) Reshape tool ใช้เพิ่มจุด และดึงยืดวัตถุ

The warp tool  ใช้โน้มวัตถุให้บิดเบี้ยว (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift) 

Twirl tool  ทำให้วัตถุบิดตามจุดที่กำหนด(กดคีย์ Alt หรือShift และ Alt+Shift) 

Pucker tool  ดึงดูดจุดให้เข้าสู่จุดศูนย์กลาง (กดคีย์ Altหรือ Shift และ Alt+Shift) 

Bloat tool  ทำให้วัตถุแบออก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และAlt+Shift) 

Scallop tool  ดึงวัตถุให้เข้าศูนย์กลางพร้อมกับสร้างรอยหยัก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift) 

Crystallize tool  ขยายวัตถุให้ออกจากศูนย์กลางพร้อมกับสร้างรอยหยัก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และAlt+Shift) 

Wrinkle tool  สร้างคลื่นให้วัตถุ (กดคีย์ Alt หรือShift และ Alt+Shift)
Free transform tool  ย่อ ขยาย หมุน เอียง วัตถุ โดยอิสระ

4.  Special tool  เป็นเครื่องมือใหม่ที่จัดการเกี่ยวกะ  Symbol และ graph
Symbol tool  ใช้จัดการเกี่ยวกับ symbol ซึ่งมีเครื่องมือย่อยมากมาย เครื่องมือแต่ละชิ้นมีไอคอนที่ง่ายต่อการเข้าใจ(กดคีย์ Alt)
Graph tool  ใช้สร้าง graph ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งง่ายต่อการเข้าใจกดคีย์ Alt หรือ Shift และAlt+Shift)

5.  Paint color tool เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้จัดการเรื่องของสี
Mesh tool   เป็นเครื่องมือสีที่สร้าง point และมีแกนในการควบคุม (กดคีย์ Alt และ Shift)
Gradient tool   เครื่องมือไล่ระดับสี ซึ่งมีการไล่ระดับอยู่ด้วยกัน  2 แบบ คือ Linear และ Radial ใช้การลากจากจุดเริ่มต้น และสิ้นสุดที่จุดปล่อยเมาส์ ในการควบคุมการไล่ระดับของสี (กดคีย์ Shift)
Eyedropper tool   หลอดดูดสี ใช้ copy สีของวัตถุ สามารถกำหนดได้ด้วยว่าจะ copy ลักษณะอย่างไร อะไรบ้าง (กดคีย์ Alt และ Alt+Shift)  
Measure tool   เครื่องมือวัดขนาด (กดคีย์ Shift)
Blend tool   เครื่องมือไล่ระดับการเปลี่ยนรูปร่างและสี สามารถควบคุมการไล่ระดับได้ ชนิด
Live Paint Bucket Tool  ใช้เทสีลงในวัตถุ
Live Paint Selection Tool  ใช้กำหนดสีให้กับพื้นที่ของPath Object ที่ได้เลือก

6.  View tool กลุ่มเครื่องมือกลุ่มนี้จะเน้นที่มุมมองเป็นหลัก
Slice tool  ใช้เกี่ยวกับการตัดแบ่งรูปเป็นส่วนๆสำหรับงานสร้างเว็บไซต์

Scissors tool  ใช้คลิกบริเวณ outine ของวัตถุเพื่อกำหนดจุดตัด จุดเพื่อแยกวัตถุออกจากกัน  (กดคีย์ Alt)

Knife tool  ใช้ drag ลากผ่านวัตถุเพื่อแยกวัตถุออกจากกันเป็น ส่วน โดยจะทำการ close paths ให้เราโดยอัตโนมัติ (กดคีย์ Alt)

Hand tool  ใช้เลื่อนดูบริเวณพื้นที่การทำงานบนหน้าจอ (กดคีย์ Spacebar)

Page tool  ใช้กำหนด print size
Zoom tool  ใช้ย่อ และ ขยายพื้นที่การทำงาน  (กดคีย์ Ctrl+Spacebar และ Ctrl+Alt+Spacebar)


Fill and Stroke  ใช้กำหนดสีของวัตถุและเส้น Path
4.  พาเลท ( Palate ) กรอบหน้าต่างย่อย ที่มีคำสั่งและเครื่องมือในการจัดการ ตรวจสอบค่าและปรับแต่ง

องค์ประกอบต่างๆของวัตถุ เครื่องมือเหล่านี้จะถูกจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่การเปิดใช้งานพาเลท ใช้คำสั่ง Windows > ตามด้วยชื่อพาเลทที่ต้องการใช้งาน




รูปภาพที่  10  พาเลท
ชุดเครื่องมือเสริม / Panel
มีไว้สำหรับตกแต่งความสวยงามเพิ่มเติมให้แก่ชิ้นงานที่สร้างขึ้นเช่น การเปลี่ยนสีพื้นสีเส้นใส่หัวลูกศรนำรูปกราฟิกที่มีในโปรแกรมมาใช้เป็นต้นILLUSTRATOR CS6 Introduction




1.  Palette ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สีและเส้น




รูปภาพที่  11  Color Palette
Color Palette เหมือนจานสีที่ใช้ผสมสีไว้ใช้เอง โดยระบุค่าสีหรือสุ่มเลือกที่แถบสีด้านล่างก็ได้ เพื่อให้ได้สีใหม่ ไม่จำกัดอยู่แต่สีที่ผสมไว้ให้ใน Swatch




รูปภาพที่  12  Swatch Palette
Swatch Palette เหมือนกล่องเก็บสีที่ผสมสำเร็จรูปไว้ใช้ได้ทันที่ทำให้ไม่ต้องผสมใหม่ทุกครั้งที่จะใส่สี



รูปภาพที่  13  Gradient Palette 
Gradient Palette ใช้กำหนดค่าการไล่โทนสีให้วัตถุ ทั้งการกำหนดรูปแบบการไล่สีระหว่างแบบเส้นตรงหรือรัศมี และปรับแต่งโทนโดยใช้แทบ Gradient Bar ด้านล่างทำให้รูปมีมิติและความลึกมากขึ้น



รูปภาพที่  14  Stroke Palette 
 Stroke Palette ใช้กำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น ขนาดของเส้น รูปแบบของรอยต่อหรือปลายเส้น ฯลฯ


รูปภาพที่  15  Brushes Palette
Brushes Palette บรรจุชนิดของหัวพู่กันสำเร็จรูปไว้ให้เลือกใช้ โดยสามารถเลือกกำหนดคุณสมบัติของหัวพู่กันได้ด้วย ทำให้เส้นสายพลิ้วพราย มีลูกเล่นไม่ธรรมดา
2.  Palette ที่เกี่ยวข้องกับการปรับแต่งและจัดการวัตถุ



รูปภาพที่   16  Align Palette     
Align Palette  ใช้ควบคุมการจัดเรียงวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นการจัดแนวของวัตถุให้ตรงกันในแนวต่างๆ การจัดระยะห่างระหว่างวัตถุ โดยคลิกเลือกวัตถุก่อน แล้วเลือกวิธีการจัดเรียงที่ต้องการ ช่วยให้งานมีระเบียบเรียบร้อยสวยงาม

รูปภาพที่  17  Transform Palette
Transform Palette  ใช้กำหนดตำแหน่ง ขนาดและปรับแต่งรูปร่างของวัตถุ โดยการระบุค่าเป็นตัวเลข เพื่อให้ได้ระยะที่ถูกต้องและแม่นยำ 

รูปภาพที่  18  Pathfinder Palette
Pathfinder Palette  ใช้สร้างวัตถุใหม่ จากการรวมรูปร่างของวัตถุเดิมเข้าด้วยกัน ช่วยในการสร้างวัตถุโดยไม่จำเป็นต้องเริ่มวาดเองใหม่ทั้งหมดใช้ร่วมกันให้เกิดเป็นรูปร่างใหม่ได้สะดวกและรวดเร็ว
3.  Palette ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานตัวหนังสือ




รูปภาพที่  19   Character Palette 
Character Palette ใช้กำหนดรูปแบบตัวหนังสือ โดยกำหนดได้ละเอียดมาก ทั้งชนิด ขนาด 
ความสูง ความกว้าง ตัวยก ตัวห้อย ฯลฯ เพื่อทำให้ตัวอักษรดูหลากหลาย และมีลูกเล่นต่าง ๆ

รูปภาพที่  20  Paragraph Palette 
Paragraph Palette  ใช้กำหนดรูปแบบการจัดเรียงข้อความ โดยกำหนดได้ละเอียดมากทั้งการจัดชิดซ้าย ขวา กลาง ฯลฯ ตลอดจนระยะย่อหน้าต่างๆ ซึ่งสามารถระบุค่าเป็นตัวเลขได้ เพื่อทำให้ข้อความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม
 4.   Palette ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและการจัดการในหน้ากระดาษ



รูปภาพที่   21   Layers Palette 
Layers Palette ใช้จัดการวัตถุที่บรรจุอยู่ในแต่ละเลเยอร์ ซึ่งทำงานเหมือนเป็นแผ่นใสที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ใช้ควบคุมทั้งการมองเห็น การล็อควัตถุการจัดลำดับซ้อนทับกัน ฯลฯ

5.  Palette ที่เกี่ยวข้องกับการใส่ลูกเล่นหรือเอฟเฟ็กต์ให้วัตถุ

รูปภาพที่  22  Transparency Palette    
Transparency Palette  ใช้กำหนดค่าความโปร่งแสงของวัตถุ โดยคลิกเลือกรูปแบบของ 
Blending Mode ที่ต้องการและกำหนดค่าความทึบที่ช่อง


รูปภาพที่  23   Symbols Palette    

Symbols Palette  บรรจุชนิดของวัตถุสำเร็จรูปให้ใช้ซ้ำ โดยใช้ร่วมกับเครื่องมือในกลุ่ม Symbolism Tool เป็นการเอาวัตถุเดียวมาใช้ซ้ำไปซ้ำมาในงาน จึงมีข้อมูลเพียงอันเดียวของวัตถุสำเร็จรูปนั้น ช่วยลดขนาดของไฟล์ได้มาก
5.  พื้นที่การทำงาน  (Artboard)  มีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีดำใช้เป็นพื้นที่ในการสร้างและปรับแต่งภาพจะมีขนาดตามที่กำหนดไว้ตอนที่เราสร้างไฟล์  Artboard  เป็นขอบเขตพื้นที่การทำงาน  ซึ่งมีจุดที่ต้องระวังคือ  บริเวณที่อยู่ที่ในเส้นประเป็นพื้นที่ที่จะถูกพิมพ์ออกมา  และส่วนของภาพที่อยู่เส้นนี้จะถูกตัดขาดไปเวลาพิมพ์

การสร้างไฟล์ใหม่ใน  Illustrator  cs6
                การสร้างไฟล์ใหม่ใน Illustrator  cs6  ทำได้หลายวิธี  เช่น  สร้างไฟล์ใหม่โดยเลือกรูปแบบจาก  Template  จะมีการกำหนดค่าเริ่มให้แล้ว  หรือจะใช้วิธีกำหนดค่าเอง  จะได้ไฟล์ใหม่ที่ตรงกับความต้องการมากกว่า  สำหรับการสร้างไฟล์ใหม่ด้วยตนอง  จะมีวิธีดังนี้  



1  คลิกเมนู  File>New


รูปภาพที่  24   การสร้างไฟล์ใหม่ใน  Illustrator  cs6





รูปภาพที่  25   การสร้างไฟล์ใหม่ใน  Illustrator  cs6


2  ตั้งชื่อไฟล์ตามต้องการ

3  กำหนดจำนวนอาร์ตบอร์ด

4  เลือกแนวจัดวางอาร์ตบอร์ด
5  กำหนดขนาดเอกสาร


 กำหนดให้เอกสารเป็นแนวตั้งหรือแนวนอน
7  คลิกเพื่อปรับแต่งให้ละเอียดขึ้น


8  กำหนดความละเอียดให้เหมาะสม

9  เลือกโหมดสีเป็น  CMYK  สำหรับงานสิ่งพิมพ์



10  คลิกปุ่ม  ok




รูปภาพที่  26  พื้นที่การทำงาน 

1.             แถบสถานะ  (Status)  มีหน้าที่ในการย่อขยายและแสดงอัตราส่วนในการแสดงภาพ  Slice  tool  ใช้เกี่ยวกับตัดแบ่งรูปเป็นส่วนๆ  สำหรับงานสร้างเว็บไซต์ 


รูปภาพที่  27  แถบสถานะ 

การใช้ไม้บรรทัดใน Illustrator

โปรแกรมสำหรับการออกแบบกราฟฟิกส์หลาย ๆ โปรแกรมนั้นจะมีไม้บรรทัด เพื่อช่วยในการกำหนดความเที่ยงตรงของวัตถุ เช่น ขนาดของวัตถุ ระยะห่างของวัตถุ เป็นต้น ในโปรแกรม Illustrator cc ไม้บรรทัดนั้นถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างงานเลยทีเดียว เรามาดูกันเลยว่าเราสามารถทำอะไรกับไม้บรรทัดได้บ้าง

การเรียกใช้งาน (แสดง) ให้กดปุ่ม Ctrl+r บนคีย์บอร์ด และหากต้องการซ่อนไม้บรรทัดก็เพียงแค่กด Ctrl+r ซ้ำอีกครั้ง


รูปภาพที่  28  การใช้ไม้บรรทัดใน Illustrator


สามารถเปลี่ยนหน่วยงานการวัดได้ง่าย ๆ โดยการคลิกเมาส์ขวาบนไม้บรรทัด และคลิกเลือกหน่วยที่ต้องการและลากเส้น guide ช่วยให้เรากะระยะต่าง ๆ ได้แม่นยำมากขึ้น การสร้าง guide ก็เพียงแค่คลิกเมาส์ค้างบนไม้บรรทัด และลากเมาส์เข้ามาในพื้นที่ทำงาน จะลากกี่เส้นก็ได้ตามความต้องการของคุณ

1 ความคิดเห็น: